วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2 : สืบค้นข้อมูล
ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์
         ในบางครั้งลู่ทางที่ดีที่สุดสำหรับเน้นย้ำ ให้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ์อาจจะต้อง นำเอา จำนวนที่ใช้จ่ายไป เข้ามากล่าวอ้าง เช่น ในปี ค.ศ. 1980 สหรัฐอเมริกาใช้เงินมากกว่า 50 พันล้านเหรียญ ไปใช้ในการจ่ายเกี่ยวกับ บรรจุภัณฑ์ ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ มากกว่าการโฆษนา โดยมีเหตุผลว่าการ บรรจุภัณฑ์ เป็นแนวโน้มต่อไปใน การที่จะเข้าถึงการบริการตนเอง ( trend toward selef service) ที่ต้องการให้บรรจุภัณฑ์ได้แสดงบทบาทหลัก 2 ประการไปพร้อมๆกันคือ ทั้งโฆษนาและ การขาย ( advertising and selling ) ดังนั้น บรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่แสดงรวมไว้ซึ่งรูปร่างลักษณะของภาชนะบรรจุ ( container ) และการออกแบบ สีสัน รูปร่าง ตราฉลาก ข้อความโฆษนาประชาสัมพันธ์ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใด ๆ ก็ตามควรที่จะ มีข้อพิจารณาตามปัจจัยหลัก 3 ประการอย่างกว้าง ๆ ต่อไปนี้คือ
     1. ทำอย่างไรบรรจุภัณฑ์ จึงจะสามารถสื่อสารได้ทั้งวจนสัญลักษณ์และทัศนสัญลักษณ์ ( how it communicates verbally and nonverbally ) เช่น ออกแบบภาชนะบรรจุห่อขนมปัง ด้วยพลาสติก ที่นอกจากจะแสดงให้เห็นถึง ความสดชื่นด้วยสีและการตกแต่งแล้วก็ยังสร้าง ความรู้สึกใหม่สดจากเตาอบให้เกิดแก่ผู้บริโภคได้อีกด้วย
      2. บรรจุภัณฑ์ควรจะสร้างความพึงพอใจ เกรียติ และศักดิ์ศรีสำหรับผู้ใช้ ( the prestige desired ) แม้ว่าผู้บริโภคจะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นไปแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปนั้น ควรต้องทำหน้าที่ขายต่อไปได้อีก เพราะการขายนั้นมิได้สิ้นสุดเพียงที่จุดซื้อ ( point of purchase ) เท่านั้น แต่บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องสร้างความต่อเนื่อง ในการนำมาใช ้และการขายหลังจากที่ถูกซื้อไปแล้วไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นจะถูกนำไปวางอยู่ที่ใดก็ตาม หรือ จนกว่าผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นั้นจะใช้หมดหรือถูกทำลายไป จึงถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น สิ้นค้าประเภทบุหรี่ บุหรี่และซองบุหรี่จะต้องถูกนำออกมาใช้จนกว่าบุหรี่จะหมดถึง 20 ครั้งด้วยกัน และการนำบุหรี่มาสูบแต่ละครั้งก็มักอยู่ในสายตาของเพื่อน ผู้ร่วมงานหรือผู้ใกล้ชิดตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เองการออกแบบบรรจุภัณฑ ์บุหรี่จึงต้องออกแบบให้สามารถสร้างความพอใจ มั่นใจ และเกิดความรู้สึกว่าเหมาะสมกับศักดิ์ศร ีของผู้ใช้ที่นำออกมา ถึงแม้ว่าบุหรี่จะถือว่าเป็นสิ้นค้าที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต ( irrational product ) ก็ตามแต่ถ้าได้รับ การออกแบบที่ดีก็สามารถจะนำมาซึ่งการตัดสินใจซื้อ ด้วยเหตุผลเป็นส่วนตัว ตามอำเภอใจและสามารถส่งเสริมการขายได้อีกด้วย
      3. บรรจุภัณฑ์จะต้องแสดงความโดดเด่นออกมา ( its stand out appeal ) ให้ชัดเจนจากผลิตภัณฑ์อื่น ด้วยการใช้รูปร่าง สี หรือขนาด เพื่อบ่งชี้เอกลักษณ์เฉพาะ ของผลิตภัณฑ์สามารถจดจำได้ง่าย หรือกยิบฉวยได้ไวในร้านค้า เป็นที่ติดตาตรึงใจเรียกหาใช้ได้อีก
อ้างอิงข้อมูลจาก :
http://www.agro.cmu.ac.th/department/pkt/packaging1.1/PACKAGINGLEARNING3-3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น